
The 10th National Conference on Educational Research, Naresuan University “Researching the Society of Lifelong Learning and Entrepreneurial towards the Sustainable Development Goals (SDGs)”
วันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2566 ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
ในรูปแบบ Hybrid Conference
หลักการและเหตุผล
ภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (Disruptive) ในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ส่งผลให้ทั้งโลกต้องมีการปรับตัวอย่างฉับพลันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก่อให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ขึ้นในสังคม ส่งผลทำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจำเป็นต้องตอบสนองการพัฒนาที่สมดุลกันใน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)” ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง (Brundtland Report, 1987) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นในตัวคนนั้นเป็นผลมาจากการได้รับความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์จากการศึกษาหรือจากกิจกรรมในวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ในสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตายจนทำให้เกิดเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Society of Lifelong Learning)” ทำให้คนยุคใหม่ควรมีคุณลักษณะที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการ (Entrepreneurs)” เป็นผู้นำความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาใช้ในการบริหารจัดการโดยมุ่งหวังผลกำไรและความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันพร้อมยอมรับ
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นสังคมด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดให้มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ในกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research) ที่มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ตลาดแรงงานระดับโลก สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นทิศทางของประเทศและ
มีคุณภาพระดับโลก ดังนั้น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 10 ประจำปี 2566 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “การวิจัยสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและผู้ประกอบการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิชาการให้แก่ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นําองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการนําองค์ความรู้ไปต่อยอดให้ก่อเกิดนวัตกรรมทางการศึกษาให้มีคุณภาพมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) พร้อมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของศาสตร์ทางการศึกษาต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ทางการวิจัยและนวัตกรรมร่วมกัน
3. เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาและการขยายเครือข่ายการทำผลงานวิจัย ตลอดจนสามารถสร้างงานวิจัยและความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
4. เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยและนักวิชาการภายในประเทศ
ระยะเวลา
วันที่ 2 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
# | ผู้ร่วมงาน | On Ground | Online |
---|---|---|---|
ค่าลงทะเบียน | |||
1 | นักวิจัย อาจารย์ ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน นิสิต บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลทั่วไป |
3,500 Bath | 2,500 Bath |
2 | หมู่คณะ 10 คนขึ้นไป | 3,300 Bath | 2,300 Bath |
3 | ผู้ร่วมงาน (Participant) ได้รับเกียรติบัตร | 500 Bath | 300 Bath |
4 | อาจารย์ บุคลากร นิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร | Free | Free |
แผนการดำเนินงาน
รายละเอียด |
ระยะเวลา |
1. เปิดรับลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน ส่งบทความทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ และชำระเงิน |
ตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 31 มีนาคม 2566 |
2. เปิดรับลงทะเบียนผู้ร่วมงาน (ไม่นำเสนอผลงาน) และชำระเงิน |
ตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 10 เมษายน 2566 |
3. วันสุดท้ายของการส่งบทความปรับแก้ไขฉบับสมบูรณ์ |
ภายในวันที่ 10 เมษายน 2566 |
4. ส่งหนังสือตอบรับเข้าร่วมนำเสนอบทความ |
ภายในวันที่ 12 เมษายน 2566 |
5. วันสุดท้ายของการส่งโปสเตอร์และวิดีโอการนำเสนอบทความ (กรณีออนไลน์) |
ภายในวันที่ 17 เมษายน 2566 |
6. ประกาศรายชื่อผู้นำเสนอภาคบรรยายและโปสเตอร์ |
ภายในวันที่ 21 เมษายน 2566 |
7. วันประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ในรูปแบบ Hybrid |
วันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2566 |
8. เผยแพร่รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ(Proceedings) รูปแบบออนไลน์ |
ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 |
หมายเหตุ:
1) ผลงานที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจะได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการและได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) สำหรับผลงานที่มีคุณภาพดีเด่นจะได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Education Naresuan University) ซึ่งได้รับการรับรองในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
2) กรณีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานแล้ว มีมติไม่ตอบรับให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ
ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียน เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายในการพิจารณาผลงาน
3) กรณีชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว ผู้จัดงานจะไม่คืนเงินให้ในทุกกรณีความจำเป็น เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4) อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องเป็นผู้เขียนชื่อแรก (First Author) หรือเป็นชื่อหลัก (Corresponding Author) ที่ระบุชื่อคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ไว้ที่ตำแหน่งที่อยู่ของผู้เขียนปรากฏในบทความอย่างชัดเจน